
21 August 2017
‘ต้อม’ ไกรวิทย์ พุ่มสุโข – ชีวิตเราแตกต่าง ไม่ได้หมายความว่าผิดปกติ
[accordion]พอรู้ว่ามีโอกาสได้สัมภาษณ์ ‘ต้อม ไกรวิทย์ พุ่มสุโข’ ขอยอมรับก่อนเลยว่า เรารู้จักคุณต้อมจากข่าวสะเทือนวงการแปลงโฉมแต่งหญิงและเปิดตัวสามีฝรั่ง อะไรทำนองนั่น
จริงๆ แล้วเค้าคือใครล่ะ ?? ‘ต้อม ไกรวิทย์’ คือนักร้องนักแสดง รับบทร้ายมาดเข้มในอดีต
ก่อนผันตัวเป็น ‘แฮร์ดีไซเนอร์’ ไว้ผมยาว แต่งสาวเต็มตัวแถมใส่รองเท้าส้นสูง
‘ทึ่ง’ นอกจากอาชีพที่เปลี่ยนไปแล้ว ความเป็นคุณต้อมในปัจจุบัน ทำให้เราทึ่ง
ทึ่งในความเป็นบุคคลสาธารณะที่กล้าเปิดเผยตัวตน ทึ่งที่เค้ากล้าทำตามใจตัวเอง
และยิ่งทึ่งมากขึ้น หลังจากบทสัมภาษณ์จบลง
คำตอบจากคำถาม ความทึ่งจากความคิด ความเป็นคุณต้อมและเพศที่3 ไปทำความรู้จัก ‘ต้อม ไกรวิทย์’ ให้มากขึ้น จากบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ ….
[/accordion]
อะไรที่ทำให้กล้าเปลี่ยนตัวเองขนาดนี้ ?
ความสุข คือ คำตอบ มันไม่มีเหตุผลที่จะต้องคิดอะไรให้ยุ่งยากกับชีวิต ทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้มีการแพลนในอนาคต เป็นการใช้ชีวิตปกติ จนมาถึงจุดที่เสียคุณแม่ ทำให้เราได้คิด “ชีวิตเป็นเรื่องรวดเร็วและสั้น อยากทำอะไรก็ทำ แต่ต้องไม่เดือดร้อนคนอื่น มีความสุขก็ทำไป ไม่ต้องสนใจสังคมมากมาย ตราบใดที่เราอยู่ในขอบเขตที่พอเหมาะ”
พอใจระดับไหน กับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ?
พอใจระดับ 3 ให้คะแนนแบบกลางๆ เพราะทางสายกลางมีความสุขสุด (คุณต้อมตอบพร้อมเสียงหัวเราะ) อันที่จริงเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โลกเค้าได้บัญญัติมาแล้วว่ามีหญิงมีชาย เมื่อเราอยู่ระหว่างก่ำกึ่ง เราเลยให้คะแนนแบบกึ่งๆกลางๆ ถือเป็นคะแนนที่พี่คิดว่าเหมาะสมแล้ว
แต่ถ้าถามถึงการให้คะแนนชีวิตที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ให้ 5 คะแนนเต็ม เพราะตอนนี้เราแฮปปี้มากกับชีวิตที่เราเป็นอยู่
เราในอดีตกับเราในปัจจุบัน ใช้ชีวิตแตกต่างไปอย่างไร
ส่วนตัวคิดว่าเราในอีดตกับปัจจุบันไม่ได้แตกต่างเลย สังคมต่างหากที่ทำให้เราแตกต่าง แต่การใช้ชีวิตของเราก็ยังให้เกียรติทั้งเพศชายเพศหญิง
ยกตัวอย่างการใช้ห้องน้ำสาธารณะ หากพี่อยู่ในลุคนี้ ลุคที่แต่งหน้าทาปาก ผมยาว ใส่รองเท้าส้นสูง ผู้หญิงก็จะไม่รู้สึกรังเกียจ ไม่มีปัญหาอะไร แต่วันไหนพี่อยู่ในลุคผู้ชาย เพื่อชีวิต ใส่เสื้อแมนๆ มันเกล้าผมขึ้น กางเกงเล ผู้หญิงก็อาจรู้สึกไม่ปลอดภัย เรายิ่งต้องใส่ใจกับเรื่องนี้ ถ้าเป็นไปได้ก็จะเลือกเข้าห้องน้ำคนพิการไปเลย นอกจากเรื่องนี้ก็ใช้ชีวิตแบบปกติ
หลังจากมีข่าวออกไป รับมือกับแรงวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ?
เมื่อเราเลือกที่จะเป็นตัวเอง เราต้องยอมรับบางส่วนของกระแสสังคมให้ได้ เพราะเราเป็นคนสาธารณะ อะไรก็ตามที่เป็นจุดศูนย์รวมของความสนใจ มันจะมีบวกลบเสมอ แม้กระทั่งชีวิตปกติ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียง
สังคมเมืองไทยต่างจากเมืองนอก ตรงที่ว่าเค้าไม่สนใจ ชีวิตใครก็ชีวิตมัน แต่เมืองไทยไม่ใช่แบบนั้น สังคมบ้านเราจะชอบนินทาเป็นเรื่องสนุก โดยเฉพาะเรื่องของคนที่แตกต่าง มักเป็นเป้าสายตาเสมอ แต่พี่ยืนยันเสมอว่า เราแตกต่างแต่เราไม่ผิดปกติ ต้องมองเราอย่างยุติธรรมด้วย
“ขอแค่เป็นตัวของเราเอง ในฉบับที่เราพึ่งพอใจ ใครจะว่าอะไรก็ไม่เป็นไร แค่ฟังไว้”
คอมเมนต์ที่แรงที่สุด ที่เคยโดนว่า ?
เคยมีคนมาด่าเราตรงๆ อาจจะเป็นแฟนคลับที่ชอบเรามาก ด่าว่าเรา “เป็นอะไรเนี่ยะ ครึ่งๆกลางๆ ไม่สวย ไหล่ก็ใหญ่ จะมาแต่งแบบนี้ทำไม มันดูพิลึก ทุเรศ” และทำสีหน้าผิดหวังในตัวเรามาก แต่เราก็รับฟังนะ เราก็ขอโทษและบอกว่าขอทำตามความสุขของเรานะ มันเป็นแค่ช่วงหนึ่งของชีวิต
แต่ส่วนใหญ่เลือกที่จะโอเคกับทุกคอมเมนต์ ขอโทษเค้า แล้วให้เค้าเมินพี่ไปเลยยังดีกว่า ไม่ต้องมอง เพราะพี่ก็ไม่อยากทำให้ใครไม่สบายใจ
สังคมไทย เปิดกว้างในเรื่องเพศ มีมุมมองกับเรื่องนี้อย่างไร ?
เปิดกว้างกว่าเก่า สมัยก่อนยังมีตะโกนเรียก “อิตุ๊ด อิตุ๊ด” กันอยู่เลย แต่สมัยนี้ดีขึ้น สามารถเดินไปไหนมาไหนด้วยความสบายใจ ไม่โดนด่าแบบสมัยก่อน สังคมสมัยนี่ให้เกียรติและยอมรับมากขึ้น แต่ต้องขึ้นอยู่กับคนคนนั้นด้วย โทษสังคมอย่างเดียวไม่ได้
การที่เราไม่เป็นตัวของตัวเอง เป็นการปิดโอกาสหรือเสียโอกาสอย่างไร ?
จริงๆ แล้ว ยังเป็นตัวของตัวเองแบบเมื่อก่อนนะ เพียงแต่รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่เราก็เต็มที่กับเราแบบเดิมอยู่แล้ว เลยไม่คิดว่าเป็นการปิดโอกาส
ตอนนี้เมื่อมีกระแสดออกไป ลุคที่เปลี่ยนไปมีผลต่องานอยู่แล้ว เพราะเราเป็นศิลปิน
อยากบอกอะไรกับคนที่มีรสนิยมรักเพศเดียวกัน แต่ไม่กล้าเปิดเผย ?
เรื่องรักเพศเดียวกัน หรือความรักชายหญิงมันไม่มีอะไรที่ผิดเลย แต่ทุกอย่างต้องอยู่ที่สถานะ หน้าที่การงานของแต่ละคน เมื่อเราอยู่ในสังคมที่ขีดเส้นเราไว้ เราก็ควรทำตามหน้าที่นั้น กลับบ้านค่อยกลับมาใช้ชีวิตแบบที่เราแฮปปี้
ยิ่งโลกมันเสรีมากขึ้น มันอยู่ที่ขอบเขตหน้าที่ที่มันต้องเป็นอยู่ ใช้ชีวิตให้มันสบายตัวที่สุด ต้องอยู่บนพื้นฐานความจริง ไม่ใ่ชเรื่องยาก เดี๋ยวนี้ครอบครัวเค้ารับได้มากขึ้น แต่ก็มีบางครอบครัวที่รับไม่ได้ สุดท้ายพ่อแม่รักลูก เค้าจะเข้าใจ อะไรที่เป็นความสุขของลูก เค้าจะปิดหูปิดตาไป เพียงแต่ว่าทุกอย่างมันต้องใช้บทบาทในการพิสูจน์
เปลี่ยนแปลงตัวเองขนาดนี้ มุมมองความรักเปลี่ยนไปไหม ?
มุมมองความรักไม่เปลี่ยน แต่ต้องปรับตัวการใช้ชีวิตกับแฟนใหม่ เพราะเราเป็นแฟนกันตั้งแต่แต่งตัวบอยๆแมนๆอยู่เลย ในขณะเดียวกันเราไม่ได้เริ่มต้นแแต่งสาวมาตั้แต่ตอนคบ เราจึงต้องคุยกันใหม่ ที่สำคัญมากกว่าความรู้สึกแฟนก็คือความรู้สึกครอบครัวของเค้าและของเรา ซึ่งครอบครับรับได้รับไม่ได้ไม่ใช่ปัญหาของเราทั้งคู่ เพียงแต่รอบข้างก็สำคัญควรบอกให้เค้ารู้ไว้
โชคดีที่แฟนเข้าใจ ตอนทำงานเค้าก็บอกว่า youเต็มที่ได้เลย แต่พออยู่ด้วยกัน you ไม่ต้องจัดเต็ม เอาแบบสบายๆเหมือนเดิม แต่มีอย่างเดียวที่ต้องขอเอาไว้ นั่นก็คือรองเท้าส้นสูง คิดแค่ว่ามองแต่ด้านบน ข้างล่างก็เมินๆไปละกัน (พร้อมเสียงหัวเราะ)
หลังจากที่คุยกันเหมือนมีข้อตกลงที่ดีต่อกัน แต่เค้าไม่เคยคิดจะเลิกกับเรา มันเหมือนเราตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแล้ว เราก็ต้องไปให้ถึงที่สุด อะไรที่มันเป็นปัญหาต้องทำให้ดีขึ้นให้ได้
มีประเด็นเรื่องการให้บัญญัติความรู้เกี่ยวกับเพศใหม่ ในหนังสือเรียนชั้นประถม เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ?
คิดว่าไม่จำเป็นจะต้องมีในหลักสูตร พี่ว่ามันไม่เกี่ยว เข้าใจธรรมชาติอย่างนึง ในตัวคนมันมีทั้งหญิงทั้งชายอยู่แล้วด้วยฮอร์โมนหรือด้วยอะไรต่างๆนาๆ คนจะเป็นเกย์เป็นกะเทยหรือเพศที่3ไม่ได้เกี่ยวกับหลักสูตรในหนังสือ
ในแง่ขององค์ความรู้ บทเรียนสอนไปไม่เป็นไร สิ่งที่มันควรจะถูกแนะนำก็คือ ความเหมาะสมมากกว่า เด็กผู้หญิงเด็กผู้ชายควรจะทำตัวเหมาะเจาะ เด็กตุ๊ดก็เหมือนกัน
เราต้องรู้ว้าเราแตกต่างอย่างพอดี ในแง่ชั่วโมงที่เด็กๆถูกสอน สามารถสอดแทรกหรืออ้างถึงเข้าไปได้ ผู้สอนต้องอธิบายในความแตกต่างของเค้าอย่างเคารพ อย่าไปทำให้เค้าดูผิดปกติ ในเมื่อต้องการให้เค้าเท่ากัน ก็ทำให้ทุกอย่างให้เท่าเทียม
ฝากถึงคนที่ยังไม่กล้าเปิดเผยตัวตนหรือคนที่เป็นเพศที่ 3
ชีวิตมันสั้นมาก โดยเฉลี่ยคนที่อายุ70-80 บางคนก็ต้องไปแล้ว เพราะฉะนั้นในช่วงที่เราจะรู้ตัวว่าเราชอบแบบไหน มันมักจะไปเริ่มต้นตอนที่อายุ10 อัพ
เมื่อไรที่เราอยู่จุดของความเป็นวัยรุ่นและเข้าใจตัวเองจริงๆ รู้สึกแปลกๆ ลองมองหาคนที่เค้าเป็นแบบบนเราแล้วลิงปรึกษาเค้า ลองฟังความคิดมุมมองของเค้า เค้าใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างไร
อะไรที่มันไม่พอดี ในหน้าที่ในความรับผิดชอบพึ่งกระทำเราไม่ทำ เราอาจจะรอถึงจุดที่ดูแลตัวเองได้ มีการมีงานทำและพิสูจน์ตัวเองอะไรก็ได้ให้มีคุณค่าต่อสังคมในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่พ่อแม่พี่น้องหรือญาติเรา คือความสุขใจ พี่ถือว่าสิ่งนี้คเป็นคุณค่าของความเป็นคนของคนคนนึงที่เกิดมาบนโลก ถ้าเราทำไปถึงจุดหนึ่งได้ วันนึงอะไรเกิดขึ้นเราก็ไม่เสียดายชีวิต
วางแผนการใช้ชีวิตต่อจากนี้อย่างไร ?
ตอนนี้ก็ดูแลธุรกิจหลักอยู่ นั่นก็คือ ร้านทำผม ‘สุโข ซาลอน’ ถือว่าโชคดีที่มีอาชีพนี้เป็นที่สองรองรับ แต่อาชีพการร้องเพลง ยังอยู่ในใจพี่เสมอ
การร้องเพลง หรือการตะโกนแบบมีเมโลดี้ มีจังหวะ มันช่วยรักษาได้ สามารถใช้บำบัดจิตใจของตัวเองและคนอื่น ตอนนี้นอกจากการร้องเพลงก็วางแผนไว้แล้วว่าอยากสร้างเพจ สื่อออนไลน์ เพื่อให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ปรึกษาเรื่องจิตเรื่องซึมเศร้า ตัวเราอาจไม่ได้เก่งมาก แต่อยากใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจากชีวิต ช่วยเหลือคนอื่น ตอบแทนให้กับสังคมและประเทศ
คือ เหตุผลที่จัดคอนเสิร์ตด้วยรึป่าว ?
เป็นส่วนนึง แต่จริงๆแล้วเกิดจากการที่เราไปโรงพยาบาลบ่อยมาก เห็นญาติคนไข้ที่นั่งรอด้วยความทุกข์ เราก็รู้สึกไม่ชอบฟิลแบบนั่นเลย มันไม่โอเค แล้วด้วยทางโรงพยาบาลมีพื้นที่เล็กๆ ก็เลยขอจัดคอนเสิร์ตร้องเพลง ให้ญาติคนไข้คลายเครียด มันจึงเป็นการคิดต่อยอดมากกว่าว่าเราร้องเพลง ทำไมเราไม่จัดคอนเสิร์ตใหญ่ไปเลยละ นำเงินที่ได้จากคอนเสิร์ตระดมทุนให้กับมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง จึงเกิดเป็นคอนเสิร์ตนี้ขึ้นมา “คอนเสิร์ตการกุศล ขุ่นแม่ขอร้อง” วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2560 รอบ14.00 และ 19.00 น. ที่ศาลาเฉลิมกรุง
ร่วมสนุกลุ้นรับโปสเตอร์พร้อมลายเซ็น ได้ที่ทาง Page Facebook : หมีสาระ
มีเบื้องหลังฮาๆมาฝาก มีเพื่อนซี้อย่าง “มัม ลาโคนิคส์” มาแจมด้วย ขอบอกเลยว่า อรรถรสมากก !!
ติดตามข่าวสารจาก หมีสาระ
Facebook : www.facebook.com/mheesaradotcom/
Twitter : https://twitter.com/mheesara
บทความที่เกี่ยวข้อง

หนึ่ง นะครับ (ศักดา ถือมั่น) – คนขับรถส่งอาหาร
02 November 2020

ดาร์ท (ธนทร ศิริรักษ์) – นักพากย์เสียงโฆษณา
12 October 2020

ไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) – แนวคิดยกเลิกระบบเกณฑ์ทหาร
17 September 2020