รวมมาตรการ เงินกู้ฉุกเฉิน & สินเชื่อ ช่วยเหลือผลกระทบจาก COVID-19

รวมมาตรการสู้โควิด-19 เงินกู้ฉุกเฉินและสินเชื่อจากทุกธนาคารหลายธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งการพักหนี้ และรวมถึงการให้กู้ยืมเงินในดอกเบี้ยที่ต่ำมาก วันนี้หมีสาระได้รวมธนาคารที่ออกมาตรการช่วยมาให้แล้ว ใครสนใจธนาคารไหนก็เลือกกันได้เลย

มาตรการธนาคาร เงินกู้ฉุกเฉิน & สินเชื่อ

ธ.ก.ส.

โครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน

รายละเอียดสินเชื่อ

  • วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักประกัน
  • ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 63 นัดทำสัญญาวันที่ 7 พ.ค. 63 ถึง 30 ธ.ค. 63
  • ระยะเวลาชำระ ปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรกนับจากวันกู้
  • กำหนดชำระคืนแล้วเสร็จภายใน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้
  • สามารถแบ่งงวดชำระได้ตามความสามารถในการชำระคืน เช่น งวดชำระรายเดือน (24 งวด) ส่งชำระต่องวดประมาณ 429.17 บาท ราย 3 เดือน (8 งวด) 1,287.50 บาท ราย 6 เดือน (4 งวด) 2,575.00 บาท

คุณสมบัติ

  • เป็นเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โควิด – 19

รายละเอียดเพิ่มเติม: ธ.ก.ส.

ออมสิน

สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ

รายละเอียดสินเชื่อ

  • วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 10,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน (Flat Rate) ผ่อนชําระคืน นานถึง 2 ปี โดยไม่ต้องชําระเงินกู้ 6 งวดแรก
  • ไม่ต้องใช้หลักประกัน
  • เปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 63

คุณสมบัติผู้กู้

  • มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป
  • มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้
  • ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 30,000 บาท
  • ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถโดยสารแท็กซี่-สามล้อ มัคคุเทศก์ เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม: ออมสิน

ออมสิน

สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำ

รายละเอียดสินเชื่อ

  • วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด 50,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน (Flat Rate) ให้ผ่อนชําระคืนนานถึง 3 ปี โดยการค้ำประกัน
  • ใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้
  • เปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 63

คุณสมบัติผู้กู้

  • มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป
  • มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้
  • เป็นผู้มีรายได้ประจําแต่รายได้ลดลงหรือขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และภัยอื่นๆ

รายละเอียดเพิ่มเติม: ออมสิน

ออมสิน

สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

รายละเอียดสินเชื่อ

  • วงเงินกู้สูงสุด 50,000 บาท
  • กู้ได้ไม่เกิน 3-5 ปี
  • ระยะเวลาปลอดชำระหนี้ 6 งวดแรก
  • ยื่นเรื่องขอกู้ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึง 30 กันยายน 2563

คุณสมบัติผู้กู้

  • ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว / สนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ผู้มีอาชีพอิสระหรือค้าขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  • พนักงาน/ลูกจ้าง ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยทั้ง 3 คุณสมบัติข้างต้นนี้ต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

รายละเอียดเพิ่มเติม: ออมสิน

กรุงไทย

กรุงไทยเคียงข้างลูกค้าเยียวยาผู้ประกอบการต้านโควิด-19

รายละเอียดสินเชื่อ

  • ดอกเบี้ยต่ำ 2% คงที่ 2 ปี
  • วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท
  • ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน บสย. 4 ปี
  • ยกเว้นค่าธรรมเนียม Front End Fee, Management Fee และค่าที่ปรึกษาสินเชื่อ
  • ฟรี! บริการ Cash Management Package (โอน รับ จ่าย) 1 ปี

คุณสมบัติผู้กู้

  • ลูกค้าของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

รายละเอียดเพิ่มเติม: กรุงไทย

ไทยพาณิชย์

ซอฟโลนดอกเบี้ยต่ำ2%

รายละะเอียดสินเชื่อ

  • วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท/ราย ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมเงินกู้ 1%
  • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี
  • เริ่มสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 ธันวาคม 2563 (เริ่มเบิกจ่ายเงินจากธนาคารออมสินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป)

คุณสมบัติผู้กู้

  • เอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

รายละเอียดเพิ่มเติม: ไทยพาณิชย์

เกียรตินาคิน

สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

รายละเอียดสินเชื่อ

  • วงเงินกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท
  • อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี
  • ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้ถึงวันที่ 30 ธ.ค.63

คุณสมบัติผู้กู้

  • ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

รายละเอียดเพิ่มเติม: เกียรตินาคิน

ก็จบไปแล้วสำหรับรวมมาตรการช่วยเหลือ ทั้งเงินกู้ฉุกเฉินหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ใครที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และทำธุรกรรมกับธนาคารไหนอยู่ ก็ลองติดต่อสอบถามกันดูนะ

ติดตามข่าวสารจาก หมีสาระ

Facebook : www.facebook.com/mheesaradotcom/

Twitter : https://twitter.com/mheesara

 

บทความที่เกี่ยวข้อง